ปฏิเสธไม่ได้เลยนะว่า PM 2.5 เป็นเรื่องที่ร้อนแรงมากในปัจจุบัน เพราะว่ามันเป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะใกล้ตัวเรา เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพอากาศอยู่ในสภาวะปิดนี่จะเห็นเลยว่าเวลาเรามองออกไปข้างนอกจะเห็นกลุ่มฝุ่น PM2.5 จนเหมือนเป็นหมอกเลยหละ บางคนไม่รู้ถึงกับสุดอากาศหายใจให้เต็มปอดเลยทีเดียวแหละ ทีนี้ทางเพจ Brainbuffets.com จึงขอนำเสนอเรื่องราวของ เจ้า PM2.5 ว่ามันคืออะไร ความเป็นมาเป็นยังไง ว่าแล้วเราก็ไปดูกัน!!!
PM 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matter 2.5 หรือแปลเป็นไทยก็คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หากสงสัยว่า PM2.5 นี้เล็กแค่ไหน ให้ลองคิดดูว่ามันเล็กระดับ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมคนเรา ซึ่งจากความเล็กขนาดนี้ทำให้ขนจมูกไม่สามารถดักจับฝุ่น PM2.5 ได้ ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศจำนวน 4แห่ง รถตรวจวัดคุณภาพอากาศจำนวน 5 คัน และเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบติดตั้งบนเสาเหล็กจำนวน 46 แห่ง และในอนาคตก็มีแผนที่จะจัดซื้อเครื่องตรวจ PM2.5 อีก 27 เครื่อง
สาเหตุที่ทำให้เกิด PM2.5
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM2.5 เกิดจากสองแหล่งกำเนิดใหญ่ๆ คือ
- แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง รถควันดำๆทั้งหลาย การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
- การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
ซึ่งจะเห็นว่า PM2.5 นี่เป็นฝุ่นที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันแต่ทำไมนะ PM2.5 ถึงเพิ่งมาเกิดเอาตอนนี้ ปัจจุบันทางกรมควบคุมมลพิษก็ได้ออกมาชี้แจงแล้ว โดยกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า สาเหตุของระดับ PM 2.5 ที่กำลังเกิดขึ้น สาเหตุหลักๆมาจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างนิ่ง สภาพอากาศปิดและมีหมอกในตอนเช้า ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศเพิ่มขึ้นและไม่มีลมพัดฝุ่นละอองเหล่านี้ให้ถ่ายเทไปยังที่อื่น
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า ทุกวันนี้เราได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 หรือไม่ หรือเราจะสังเกตอาการยังไงว่า PM 2.5 ได้ส่งผลกระทบต่อตัวเราเองแล้ว ซึ่งอาการที่เราควรสังเกตตัวเองจะมีดังต่อไปนี้ หากมีอาการป่วยไอเรื้อรัง คัดจมูด รู้สึกตาระคายเคือง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจติดขัด ไม่สะดวก เรื่องนี้ก็ข้อบ่งชี้ได้ว่า ‘ฝุ่นละออง PM 2.5’ เริ่มส่งผลเสียต่อร่างกายของเราแล้ว ซึ่งหากมีอาการป่วยเหล่านี้อยู่เรื่อยๆก็จะส่งผลต่อร่างกายของเราในระยะยาว
ผลกระทบระยะยาวต่อร่างกายของเราคือจะทำให้ คออักเสบ ติดเชื้อ โรคทางระบบทางเดินหายใจ ร้ายแรงสุดก็นำไปสู่โรคมะเร็งปอดเลยทีเดียว
ส่วนวิธีป้องกัน PM2.5 ก็คือ เราต้องใส่หน้ากากที่มีคุณสมบัติป้องกัน PM 2.5 โดยเฉพาะ (N95) หรือหากหาหน้ากากแบบนี้ไม่ได้ก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาซ้อนกัน2ชั้น หรือใช้หน้ากากอนามัย1ชั้นแล้วรองด้วยกระดาษทิชชู่ก็ได้ แต่ว่าอย่างน้อยก็ขอให้ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นพวกนี้ด้วยนะ
แอพตรวจสอบค่า PM 2.5
ตอนนี้เราก็สามารถตรวจสอบค่า PM 2.5 ในแต่ละวันได้เอง โดยไม่ต้องมานั่งรอข่าวในเวปไซต์หรือตามฟีด Facebook แล้วว่าวันไหนมีค่า PM 2.5 สูง โดยเราสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นใน Smartphone สำหรับตรวจสอบค่า PM 2.5 ได้ โดยในที่นี้เราจะขอแนะนำเพียง 2 แอพ เพราะว่าทั้ง 2 แอพนั้น ค่อนข้างมีมาตรฐานสูงและเป็นนิยมใช้งานกันเป็นจำนวนมาก โดยแอพแรกนั้นก็คือ
AirVisual – แอพพลิเคชั่นที่บอกว่าสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร มีระดับ PM2.5 เป็นยังไงบ้าง อันตรายแค่ไหน มีอัตราปนเปื้อนมากน้อยขนาดไหน พร้อมพยากรณ์ในอีกหลายวันข้างหน้าได้ มีหน้าตา (UX/UI) ที่น่ารัก ดูง่ายต่อการใช้งาน เข้าใจได้ง่าย และมีตารางเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของค่า PM2.5 ที่ระดับต่างๆอีกด้วย มีการอัพเดทที่ค่อนข้างบ่อย
Air4Thai – แอพพลิเคชั่นของคนไทย จัดทำโดย กรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department) รายงานดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย โดยรายงานข้อมูลรายชั่วโมง และข้อมูลรายวัน กราฟคุณภาพอากาศย้อนหลัง 7 วัน โดยแอพนี้การอัพเดทอาจจะช้าสักหน่อยหากเทียบกับ Air Visual
หากเทียบค่าระหว่าง Air Visual กับ Air4Thai ก็จะได้ค่าที่แตกต่างกันเล็กน้อย(บางครั้งก็มาก) ซึ่งตัวผมเองก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะเชื่อแอพไหนดี เนื่องจากอาจจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการวัด PM2.5 ตัวผมเองก็จะเชื่อค่าที่มากที่สุดระหว่าง 2 แอพนี้ เพราะยังไงการเตรียมตัวสำหรับความเลวร้ายที่มากที่สุดที่อาจเกิดขึ้น มันก็เป็นพื้นฐานในการเอาตัวรอดของคนเราอยู่แล้ว และมันจะทำให้เราเตรียมการรับมือกับสภาพ PM2.5 ที่เลวร้าย และไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเราในอนาคตอีกด้วย